นักแก้ไขการพูด

นักแก้ไขการพูด (Speech-Language pathologist)


อ้างอิงจากจรรยาบรรณเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพโสตสัมผัสวิทยาและการแก้ไขการพูด, 2543

ลักษณะงาน

  • ปฎิบัติงานเกี่ยวกับการวินิจฉัยความผิดปกติของการสื่อความหมายทางภาษาและการพูด
  • การตรวจคัดกรองหาข้อบ่งชี้ ประเมินสภาพความผิดปกติ ทดสอบความสามารถทางด้านภาษาและการพูดรวมถึงการกลืน   
  • แยกประเภทความผิดปกติต่างๆ บำบัดรักษา     
  • แก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพได้ครอบคลุมทุกประเภทของความผิดปกติ เช่น การพูดไม่ได้ พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ ปากแหว่งเพดานโหว่ ประสาทหูพิการ ออทิสติก สติปัญญาอ่อน กลืนลำบาก กลืนผิดวิธี ผู้ป่วยที่ตัดกล่องเสียง ผู้ป่วยสมองพิการ เป็นต้น       
  • แก้ไขความบกพร่องที่เกิดขึ้นกับกระบวนการพูด ระบบภาษา การทำงานของอวัยวะในช่องปาก คอ หลอดอาหารช่วงต้น    
  • การปรับพฤติกรรม การเรียนรู้ อารมณ์ และการอยู่ร่วมกันในสังคม     
  • แนะนำแก่ผู้ปกครอง ญาติ ผู้ดูแล หรือผู้เกี่ยวข้อง  ให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับความผิดปกติของผู้ป่วยและเรียนรู้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง     
  • คัดเลือกหรือประยุกต์ใช้เครื่องช่วย อุปกรณ์เสริม วัสดุ  เพื่อทดแทนให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย ติดตามผลการรักษา ส่งต่อผู้ป่วยเพื่อขอรับการช่วยเหลืออื่น ๆตามความเหมาะสม     
  • เผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันความผิดปกติทางภาษาและการพูด        
  • พัฒนาและสร้างเทคนิคการบริการการทำวิจัย ค้นคว้าโดยผ่านกระบวนการประเมิน วิเคราะห์และวางแผนอย่างมีระบบ


คุณสมบัติ

จบปริญญามหาบัณฑิต หรือ ดุษฎีบัณฑิต ด้านศิลปศาสตร์หรือ วิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาความผิดปกติทางการสื่อความหมาย วิชาเอกความผิดปกติทางภาษาและการพูด (Speech and Language Pathology)

ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน

  • ต้องรู้ระบบสรีรวิทยา  กายวิภาค  และกลไกของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการสื่อความหมาย  อันได้แก่  ระบบการพูด  การทำงานของอวัยวะในช่องปาก  คอ  หลอดอาหารช่วงต้น  ระบบการได้ยิน  ระบบสมองส่วนกลาง   
  • ต้องรู้จักโรคและพยาธิสภาพอันเป็นสาเหตุให้เกิดความผิดปกติทางภาษาและการพูด       
  • ต้องรู้วิธีการวินิจฉัยความผิดปกติทางภาษาและการพูด  รวมถึงการกลืนโดยใช้แบบทดสอบ  การสังเกตพฤติกรรมและการใช้เครื่องตรวจที่เหมาะสม  เพื่อให้การวินิจฉัยถูกต้อง  แม่นยำ  อันจะเป็นแนวทางในการวางแผนบำบัด  รักษา  แก้ไขและฟื้นฟู      
  • ให้การบำบัดรักษาและฝึกแก้ไขความผิดปกติประเภทต่างๆเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม       
  • ใช้เทคนิคการกระตุ้นพัฒนาการให้เหมาะสมกับประเภทของความผิดปกติ  โดยเฉพาะเด็กก่อนวัยเรียน  เพื่อให้มีความสามารถใกล้เคียงกับเด็กปกติ  และแนะนำโรงเรียนที่เหมาะสมเมื่อเด็กมีความพร้อม    
  • ต้องมีความรู้ในด้านการศึกษาวิจัยด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ด้านความผิดปกติทางภาษาและการพูด  ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์เพื่อพัฒนาวิชาชีพและการบริการ      
  • ต้องใช้การตัดสินใจและจรรยาบรรณในการตรวจวินิจฉัย  การบำบัดรักษา  การให้คำแนะนำ  อันจะมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่  วิถีการดำเนินชีวิต  และอนาคตของผู้ป่วย
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้